สินค้าค้างสต๊อกคือปัญหาหลักของพ่อค้าแม่ค้าหลายคน ซึ่งหลัก ๆ แล้วมาจากการจัดการสต๊อกสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาขายสินค้าไม่ออก เงินทุนจมอยู่กับสต๊อก และ Cash Flow ของร้านไม่ลื่นไหล
หากคุณกำลังเผชิญปัญหานี้ ในบทความนี้เราจะพามาดูว่าจริง ๆ แล้ว สินค้าค้างสต๊อกคืออะไรกันแน่ มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วต้องจัดการอย่างไรจึงจะเปลี่ยนสินค้าที่ว่านี้ให้กลายเป็นรายได้ของร้านได้
จัดการสต๊อกด้วย Zaapi โหลดแอปฟรี ที่นี่เลย
สินค้าค้างสต๊อกคืออะไร?
สินค้าค้างสต๊อก ภาษาอังกฤษคือ Dead Stock คือ สินค้าที่ไร้ความเคลื่อนไหว หรือ สินค้าที่รอขายเป็นเวลานาน ถ้าจะพูดง่าย ๆ ก็หมายถึงสินค้าที่ขายไม่ออกเกิน 6 เดือนนั่นเอง แน่นอนว่าสินค้าประเภทนี้ไม่เพียงแต่กลืนเงินทุนร้านเท่านั้น แต่ยังเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการเช่าโกดังหรือพื้นที่จัดเก็บสินค้าอีกด้วย
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดสินค้าค้างสต๊อก?
ตามที่เราได้เกริ่นไปแล้วข้างต้น หลัก ๆ แล้วปัญหาสินค้าค้างสต๊อกโดยรวมมาจากการบริหารสต๊อกสินค้าหรือสินค้าคงคลังที่ไร้ประสิทธิภาพ เพราะหลายร้านมุ่งแต่จะผลิตหรือรับสินค้ามาขายจนลืมวางแผนจัดการขายหรือวิเคราะห์เทรนด์สินค้า พอรู้ตัวอีกทีก็มีของค้างสต๊อกเต็มไปหมด
และถ้าจะแบ่งย่อยสาเหตุที่ทำให้หลายร้านมีสินค้าค้างสต๊อกมากมายเต็มไปหมดก็ได้แก่
- ขาดความแม่นยำในการประเมินสินค้า แน่นอนว่าการคาดเดาของคุณไม่แม่นยำเสมอไป และหลายร้านก็มักจะคิดว่าตัวเองประเมินจำนวนสินค้าได้ถูกต้องจากการคาดคะเน ซึ่งบางทีก็ลงเอยที่สั่งสินค้ามาเยอะเกินจำเป็น
- สั่งสินค้าไม่ถูกเวลา บางร้านสั่งสินค้าในเวลาที่ความต้องการสินค้าน้อย หรือบางร้านก็สั่งสินค้าต่อครั้งเยอะเกินไป ทำให้สุดท้ายแล้ว สต๊อกเกิน ไม่มีการระบายสินค้าออก
- ยอดขายไม่ดี สินค้าที่สั่งมาบางทีก็ไม่ได้ขายดีไปเสียทีเดียว บางทีสินค้าอาจจะราคาแพงเกินไปสำหรับลูกค้า บางทีลูกค้าอาจจะไม่ชอบสไตล์ หรือบางทีก็ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าไปแล้ว
- ความต้องการสินค้าน้อยลง แม้ร้านคุณจะมีการคาดเดาปริมาณสินค้าล่วงหน้าอย่างแม่นยำ แต่บางทีความของตลาดก็เปลี่ยนไปได้เช่นกัน อาทิ เทรนด์หรือกระแสโซเชียลต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ความต้องการของลูกค้าลดลง
- สินค้ามีปัญหา หลายร้านที่สั่งผลิตหรือสั่งซื้อสินค้าทีละเยอะ ๆ โดยไม่ได้ตรวจสอบสินค้าให้ดีก่อน ทำให้เกิดปัญหาสินค้าคุณภาพต่ำ ทำให้ไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้าและขายไม่ได้ในที่สุด
- ไม่เป็นที่สนใจในกลุ่มลูกค้า ถ้าขายสินค้าที่ไม่โดนใจลูกค้าล่ะก็ แน่นอนว่าสินค้าเหล่านั้นจะกลายเป็นสินค้าค้างสต๊อกได้ง่ายมาก
ข้อเสียของสินค้าค้างสต๊อกที่ทุกร้านต้องแก้ด่วน!
พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของออนไลน์และออฟไลน์มักจะมองข้ามข้อเสียของของค้าสต๊อกแบบไม่รู้ตัว และต้องบอกเลยว่านอกจากสินค้าค้างสต๊อกจะเปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บและเป็นการลงทุนที่ผิดพลาดของร้านแล้ว ยังมีข้อเสียหลัก ๆ อีกดังนี้ :-
- เสียเงิน ร้านไม่สามารถขายหรือทำกำไรจากสินค้าค้างสต๊อกได้ ของค้างสต๊อกแต่ละชิ้นจึงเปรียบเสมือนกับการสูญเงินเปล่า
- เสียโอกาสในการขาย เนื่องจากสินค้าไม่มีความเคลื่อนไหว จึงไม่มีโอกาสได้เข้าใกล้สายตาลูกค้า ทำให้ไม่มีโอกาสในการขาย ดังนั้นลืมเรื่องคุ้มทุนหรือว่ากำไรไปได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าแทนที่จะได้ใช้เงินลงทุนไปกับสินค้าขายดีของร้าน แต่ทุนกลับถูกใช้ไปกับสินค้าที่ขายไม่ออก
- เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ ค่าเช่าพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าถือว่าราคาสูงพอสมควร เพราะนอกจากจะต้องเช่าโกดังแล้ว ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามมา เช่น ค่าน้ำค่าไฟและค่าประกันสินค้า เป็นต้น
- เสียค่าจ้างพนักงานเพิ่ม ยิ่งมีสินค้าค้างมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับว่าร้านต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและทำความสะอาดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งบางทีอาจจะต้องจ้างพนักงานมาดูแลเพิ่มเติมในส่วนนี้ เรียกว่ามีแต่รายจ่ายทั้งนั้น
ใช้ Zaapi จัดการสต๊อกสบาย ๆ คลิกเลย
วิธีจัดการสินค้าค้างสต๊อก เพิ่มยอดขายให้ร้าน
ทำความรู้จักกับสินค้าค้างสต๊อกรวมถึงสาเหตุและข้อเสียกันไปแล้ว ต้องบอกเลยว่าสินค้าที่ว่านี้ไม่ได้แย่เสมอไป เพราะคุณยังมีโอกาสทำเงินให้ร้านได้แค่มีวิธีการจัดการและแผนระบายสินค้าค้างสต๊อกอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเทคนิคที่หลายร้านทำกันและเพิ่มยอดขายได้จริงก็มีดังนี้ :-
- แจกฟรีกับสินค้าอื่น
กำจัดสินค้าที่ไม่มีความเคลื่อนไหวได้ง่าย ๆ เพียงแค่แจกฟรีกับสินค้าอื่น ๆ วิธีนี้อาจจะไม่ได้ช่วยให้ร้านเพิ่มยอดขายได้มาก แต่ก็ช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าและกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะกลับมาซื้อสินค้าที่ร้านอีกครั้งหลังจากได้รับสินค้าฟรี และเพื่อให้ร้านขาดทุนน้อยที่สุด ควรกำหนดมูลค่าขั้นต่ำในการแจกสินค้าฟรีด้วย เช่น รับสินค้า A ฟรี เมื่อซื้อสินค้าในร้านครบ 1,000 บาท เป็นต้น
- ขายคู่กับสินค้าอื่น
คุณสามารถจับคู่ของค้างสต๊อกกับสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อระบายสินค้าได้เช่นกัน โดยแมตช์สินค้าที่ใช้ด้วยกันได้และจัดโปรสินค้าขายในราคาที่ถูกกว่าเพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงความคุ้มค่า ซึ่งถ้าจะให้ดีที่สุด ควรจับคู่สินค้าค้างสต๊อกกับสินค้าขายดีเข้าด้วยกัน รับรองว่ายอดขายร้านจะพุ่งมากขึ้นแน่นอน
ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการใช้ร่วมกันได้ของสินค้าที่จับคู่กันเสมอ เพราะถ้าเป็นสินค้าที่ไม่เข้ากัน ใช้ด้วยกันไม่ได้ ลูกค้าก็จะไม่เห็นคุณค่าของเซ็ตสินค้าและเกิดความรู้สึกไม่อยากซื้อได้
- พาร์ทเนอร์กับร้านอื่น
ถ้ามีคอนเน็คชั่นดีอยู่แล้ว นี่แหละคืออีกหนึ่งวิธีการจัดการสินค้าที่ไร้ความเคลื่อนไหวของร้านคุณ อาจจะเป็นการจัดเซ็ตกับแบรนด์พาร์ทเนอร์ หรือแจกสินค้าค้างสต๊อกฟรีให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากร้านพาร์ทเนอร์ของคุณก็ได้
- ลดกระหน่ำล้างสต๊อก
นอกจากจะร่วมมือกับร้านพาร์ทเนอร์ในการระบายสินค้าแล้ว วิธีเคลียร์สต๊อกได้ดีที่สุดก็คือ การหั่นราคาสินค้าแบบสุด ๆ ลองลดราคาสินค้าและขายสินค้าที่ว่านี้ในราคาที่ต่ำมาก ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ลดราคาเฉพาะช่วงบ่าย 1 - 2 โมง หรือกำหนดจำนวนวันในการจัดโปรซื้อ 1 แถม 1 เป็นต้น
วิธีนี้ไม่ได้เน้นในเรื่องของกำไร แต่เน้นโละพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าและเพิ่มกระแสเงินสดมาจับจ่ายในร้านมากกว่า
- ส่งสินค้ากลับไปยังซัพพลายเออร์
ลองเช็คกับซัพพลายเออร์ที่สั่งซื้อสินค้าอีกครั้ง เพราะบางเจ้าจะมีการรับสินค้ากลับ แต่บางเจ้าก็อาจจะให้เป็นเครดิตไว้ใช้ในการสั่งซื้อสินค้าล็อตถัดไป หรือบางเจ้าก็อาจจะรับซื้อในราคาทุน ซึ่งก็ดีกว่าปล่อยให้สินค้าเสื่อมสภาพและสูญเงินที่ลงทุนไปเป็นแน่
- ขายส่ง
ถ้าขายสินค้าค้างสต๊อกให้ลูกค้าทั่วไปไม่ได้ ลองขายต่อให้กับร้านหรือบริษัทอื่นในราคาส่งดู เพราะร้านหรือบริษัทบางแห่งอาจจะมีแหล่งระบายสินค้าอยู่แล้ว หรือบางทีร้านกับบริษัทเหล่านั้นก็จะซื้อของจากเราในราคาส่งและขายต่อในราคาปลีก นี่จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีกำจัดสินค้าค้างสต๊อกที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
- ขายตามช่องทางอื่น ๆ ด้วย
ถ้าวางขายหน้าร้านและร้านค้าออนไลน์แล้วไม่เวิร์ก ก็ต้องพิจารณาตัวเลือกอื่น ๆ อย่างมาร์เก็ตเพลส Social Media และฟอรั่มต่าง ๆ เพราะช่องทางเหล่านี้มักจะมีฐานลูกค้าอยู่แล้ว และคุณก็อาจจะได้ลูกค้าใหม่ ๆ จากช่องทางใหม่ ๆ ที่ว่านี้ด้วย
- บริจาค
ลูกค้าในยุคปัจจุบันสนับสนุนร้านและแบรนด์ที่มีส่วนช่วยเหลือสังคมอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าคุณมีของค้างสต๊อกเยอะและสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ แนะนำให้บริจาคได้เลย หรือจะให้ลูกค้าซื้อบริจาค หรือนำรายได้บางส่วนไปบริจาคก็ได้ รับรองรายได้ร้านกระเตื้องขึ้นแน่
- First In, First Out (FIFO)
ง่าย ๆ ตามหลังของ First In, First Out (FIFO) เลยก็คือ ทางร้านต้องขายสินค้าที่ซื้อมาก่อนไปก่อนเพื่อป้องกันสินค้าเก่าหรือเสื่อมสภาพ ที่จะนำไปสู่สินค้าค้างสต๊อกในภายหลัง
- เลือกเว็บขายออนไลน์ที่ตอบโจทย์
ปัจจุบันมีเว็บสำเร็จรูปให้สร้างร้านค้าออนไลน์ได้ฟรี แต่คุณก็ต้องเลือกเจ้าที่มีระบบหลังร้านซัพพอร์ตการขายของคุณและมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจด้วย เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถใช้เงินทุนของร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่าง Zaapi เองก็มีฟีเจอร์รายงานยอดขายแบบเรียลไทม์ (Real Time) รายงานสินค้าขายดี เช็คสต๊อกอัตโนมัติ ฯลฯ ที่จะช่วยให้การขายง่ายขึ้น และลดจำนวนสินค้าค้างสต๊อกได้เป็นอย่างดี เพราะคุณมีข้อมูลสำคัญและรู้ว่าสินค้าไหนขายดี ทำให้วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและประเมินสต๊อกสินค้าได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
ดาวน์โหลด Zaapi ตอนนี้ คลิก
ถึงเวลาลงมือทำแล้ว!
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าค้างสต๊อกและวิธีการจัดการกันไปแบบเต็ม ๆ แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาของคุณที่จะต้องลงมือทำแล้ว! เมื่อกำจัดสินค้านี้ได้ ร้านคุณก็จะมี Cash Flow หมุนเวียนมากขึ้น และคุณก็จะวางแผนการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแค่มีข้อมูลหลังบ้านประกอบการตัดสินใจ
สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ ทดลองใช้ระบบรวมแชทบน Zaapi ฟรี 7 วัน
{{cta-button="/cms-injection-content"}}
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Zaapi
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทาง
- LINE OA: @zaapi
- Facebook Page: Zaapi Thailand
- Tel: 096-927-1729
Chat, Sell, Scale - The All-in-One Conversation and Commerce Hub